เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2500 กระทรวงคมนาคม ได้เสนอโครงการจัดตั้ง กองตำรวจทางหลวง ขึ้นในกรมทางหลวงแผ่นดิน ตามหนังสือ ที่ สร.3710/2500 ลง 8 พฤษภาคม 2500 เพื่อลดอุบัติเหตุจากการจราจรในทางหลวง แต่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารได้มีหนังสือตอบกระทรวงคมนาคม ว่าเรื่องนี้เป็นโครงการที่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ คค.9342/2500 ลง 1 ตุลาคม 2500
ต่อมา กรมตำรวจ ได้มีหนังสือที่ 4139/2503 ลง 14 เมษายน 2503 ถึงอธิบดีกรมทางหลวงแผ่นดิน แจ้งว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พิจารณาเห็นว่า กิจการทางหลวงแผ่นดินเจริญก้าวหน้ากว้างขวางไปเป็นอันมากมีประชาชนใช้ยวดยาน เป็นพาหนะสัญจรและขนส่งสินค้า ไปมาบนทางหลวงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ การจราจรไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเท่าที่ควร เป็นเหตุให้เกิดอุปัทวะเหตุ เป็นอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายแก่ประชาชน ผู้ใช้ยวดยานอยู่เสมอๆ และนอกจากนั้นยังเกิดอาชญากรรมร้ายแรงบนทางหลวงอยู่เนื่อง ๆ และทางหลวงถูกทำให้ชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ เพราะขาดเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล จึงมีบัญชาให้กรมตำรวจกำหนดให้มีตำรวจทางหลวงขึ้น ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ พ.ศ.2503 ซึ่งกรมตำรวจได้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้นแล้ว อยู่ในระหว่างเสนอเพื่อประกาศใช้ ต่อไป ตำรวจทางหลวง มีฐานะเป็นกองบังคับการ เรียกชื่อว่า “ กองบังคับการตำรวจทางหลวง ” เพื่อความเรียบร้อยในการตระเตรียม การจัดตั้งกองตำรวจทางหลวง ตามนโยบายของกรมทางหลวงแผ่นดิน กรมตำรวจได้ให้ พ.ต.อ.อุดม เศาระบุตร รองผู้บังคับการกองพิเศษ มาเรียนปฏิบัติและร่วมพิจารณาดำเนินการ
พ.ต.อ.อุดม เศาระบุตร รองผู้บังคับการกองพิเศษ จึงได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการของกรมทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงแผ่นดิน เป็นประธาน ได้ตกลงกำหนดหลักการในการจัดตั้งกองตำรวจทางหลวง ดังต่อไปนี้
- งบประมาณค่าใช้จ่ายของกองตำรวจทางหลวง เป็นของกรมทางหลวงแผ่นดิน ทั้งสิ้น
- กรมทางหลวงแผ่นดิน เป็นฝ่ายจัดอาคารที่ทำการ, อาคารที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อันเป็นปัจจัย ในการดำเนินงานของกองตำรวจทางหลวงโดยครบครัน
- กองตำรวจทางหลวง มีโครงการ6 ปี ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ภายใน 3 ปีขยายตำรวจ ทางหลวงตามเส้นทางที่สำคัญทั่วประเทศ ระยะที่ 2 ต่อไป จัดกองตำรวจทางหลวง ให้มีสภาพสมบูรณ์ครบถ้วนตามโครงการ
- โครงการในปีแรกที่เริ่มตั้ง จัดตามความสำคัญและจำเป็นของทางหลวงแผ่นดินดังต่อไปนี้
- ทางหลวงสายพหลโยธิน( จากนอกเขตเทศบาลกรุงเทพ ฯ ถึงที่ตั้งอำเภอโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี)
- ทางหลวงสายมิตรภาพ (สายสระบุรี ถึง นครราชสีมา)
- ทางหลวงสายหินกอง ถึง จังหวัดปราจีนบุรี
- ทางหลวงสายเพชรเกษม จากนอกเขตเทศบาลนครธนบุรี ถึงที่ตั้งอำเภอหัวหิน
- ทางหลวงสายสุขุมวิท จากนอกเขตเทศบาลกรุงเทพ ฯ- ชลบุรี ถึงที่ตั้งอำเภอสัตหีบ
- การจัดทำโครงการการขยายงานตำรวจทางหลวง แต่ละปีกรมทางหลวงแผ่นดินกับกรมตำรวจจะได้พิจารณาตกลงกัน
- กองตำรวจทางหลวง ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจตามกฎหมาย
- การปฏิบัติงานของตำรวจทางหลวง เป็นไปตามหลักการดังนี้
- งานในส่วนที่เกี่ยวกับการกำกับ ตรวจตรายานพาหนะที่เดินบนทางหลวง
- การจราจรในทางหลวงนอกเขตเทศบาล และการป้องกันรักษาทางหลวงตามกฎหมาย ให้ฟังคำสั่งจากอธิบดีกรมทางหลวงแผ่นดิน
- งานในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยทั่วๆไปหรืองานเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามอันเป็นหน้าที่ของตำรวจ หรือหน้าที่อื่นใด นอกจากกรณีที่เกี่ยวกับกรมทางหลวงแผ่นดิน ให้ฟังคำสั่งจากกรมตำรวจ ตามสายบังคับบัญชา
- หน้าที่ของตำรวจทางหลวง มีหลักการต่อไปนี้
- ขจัด และ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงให้หมดสิ้นไป
- ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำให้ทางหลวงชำรุดทรุดโทรมเสียหาย
- ป้องกันปราบปรามเหตุร้ายในทางหลวง ให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย
- ป้องกันปราบปรามการกระทำผิดอื่น ๆ ที่ใช้ทางหลวงกระทำความผิด
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับความสะดวก
- อำนาจของตำรวจทางหลวง
- มีอำนาจทำการเปรียบเทียบ
- มีอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะกรณีที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ทางหลวงแผ่นดิน และความผิดตามกฎหมายอื่นที่เป็นกรณี เหตุเกิดในทางหลวงแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร
ตามโครงการ ในปีแรกเริ่มตั้ง กองตำรวจทางหลวง จะแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 กองกำกับการ แต่ละกองกำกับการ แบ่งออกเป็น 2 แผนก พ.ต.อ.อุดม เศาระบุตร ได้เสนอโครงการให้อธิบดีกรมตำรวจทราบ
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2503 อธิบดีกรมตำรวจ ได้อนุมัติในหลักการให้เสนอโครงการต่ออธิบดีกรมทางหลวง เพื่อดำเนินการต่อไป ส่วนงบประมาณในการจัดตั้งกองตำรวจทางหลวง นั้น ประมาณ 6,331,250 บาทสำนักงบประมาณขอให้ใช้คนและค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของกรมตำรวจไปพลางก่อน สำหรับปี 2504
จะได้พิจารณาจัดตั้งงบประมาณให้ต่อไป ปรากฏตามหนังสือ สำนักงบประมาณที่ 2369/2503 ลง 13 กรกฎาคม 2503
ต่อมา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2503 กระทรวงคมนาคม ได้รายงาน ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีตามข้อพิจารณาของกรมทางหลวงแผ่นดินว่า สภาพของทางหลวงได้ชำรุดทรุดโทรมอย่างน่าวิตก หากมิได้มีการแก้ไขให้ทันท่วงทีแล้ว ทางหลวงแผ่นดินซึ่งได้ลงทุนก่อสร้างถึง 428 ล้านบาท ก็จะแปรสภาพเป็นทางหลวงชั้น 2 ไปในอนาคตอันใกล้ จึงเห็นควรจัดตั้งกองตำรวจทางหลวงขึ้น เพื่อปราบปรามผู้กระทำผิด ควบคุมการจราจร ให้ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทางหลวง ปรากฏตามหนังสือกระทรวงคมนาคมที่ สร.6205/2503 ลง 23 สิงหาคม 2503 คณะรัฐมนตรี ได้ประชุมปรึกษาและลงมติ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2503 รับหลักการ ให้จัดตั้งกองตำรวจทางหลวง ขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการของกรมตำรวจ ส่วนค่าใช้จ่าย ให้สำนักงบประมาณ ตั้งให้ตามสมควร ในงบประมาณของกรมทางหลวงแผ่นดิน ปรากฏตาม หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ มท 9008/2503 ลง 31 สิงหาคม 2503
ดังนั้น ในปี พ.ศ.2503 กองตำรวจทางหลวง ซึ่งได้จัดตั้งเป็นครั้งแรก จึงแบ่งส่วนราชการออกเป็น
3 กองกำกับการ กองกำกับการละ 2 แผนก คือ
กองกำกับการ 1 ตั้งที่ทำการรวมอยู่กับกองบังคับการ ที่กรมทางหลวงแผ่นดิน
แผนก 1 ตั้งที่ วังน้อย
แผนก 2 ตั้งที่ จังหวัดสระบุรี
กองกำกับการ 2 ตั้งที่ทำการรวมอยู่กับกองบังคับการ ที่กรมทางหลวงแผ่นดิน
แผนก 1 ตั้งที่ จังหวัดนครปฐม
แผนก 2 ตั้งที่ จังหวัดเพชรบุรี
กองกำกับการ 3 ตั้งที่ ทำการรวมอยู่กับกองบังคับการ ที่กรมทางหลวงแผ่นดิน
แผนก 1 ตั้งที่ทำการรวมอยู่กองบังคับการ ที่กรมทางหลวงแผ่นดิน
แผนก 2 ตั้งที่จังหวัดชลบุรี
ปรากฏตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2503
ลงวันที่ 13 กันยายน 2503 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอนที่ 77 วันที่ 20 กันยายน 2503
มีผลใช้บังคับ วันที่ 21 กันยายน 2503) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงาน เขตอำนาจการรับผิดชอบ และเขตพื้นที่การปกครอง ของหน่วยงานราชการในกรมตำรวจ ลงวันที่ 26 กันยายน 2503 และระเบียบกรมตำรวจ ว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2508
ต่อมา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 79 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2515 ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจเสียใหม่ เพื่อให้ทุก ๆ กองกำกับการตำรวจทางหลวง มี สถานีตำรวจทางหลวง โดยให้กองตำรวจทางหลวงออกเป็น 3 แผนก 7 กองกำกับการ คือ
1.แผนกธุรการ 2.แผนกศูนย์ข่าวและสถิติวิจัย 3. แผนกการเงินและพัสดุ
|
1.กองกำกับการ 1
2.กองกำกับการ 2 3.กองกำกับการ 3 4.กองกำกับการ 4 5.กองกำกับการ 5 6.กองกำกับการ 6 7.กองกำกับการ 7 |
(ทุก ๆ กองกำกับการ มีสถานีตำรวจทางหลวง )
ซึ่งกรมตำรวจ ได้ออกระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2515 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2515 รองรับประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหน่วยงาน เขตอำนาจการรับผิดชอบ และเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการในกรมตำรวจ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2520 ลง 22 มิถุนายน 2520
โดยให้แต่ละกองกำกับการของกองตำรวจทางหลวง มีสถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานี
ต่อมา ก.ตร.ในการประชุมครั้งที่ 4/2536 เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2536 ได้อนุมัติการวิเคราะห์และกำหนดตำแหน่งในงานฝ่ายอำนวยการ กองตำรวจทางหลวง จากที่มีอยู่เดิม 3 แผนก คือ แผนกธุรการ แผนกศูนย์ข่าวและสถิติวิจัย แผนกการเงินและพัสดุ เป็น ฝ่ายอำนวยการ กองตำรวจทางหลวง มีรองผู้กำกับการ ฝ่ายอำนวยการ กองตำรวจทางหลวง เป็นหัวหน้ารับผิดชอบงาน ทั้งหมด 3 แผนก 6 งาน คือ แผนกธุรการ, แผนกศูนย์ข่าวและสถิติวิจัย, แผนกการเงินและพัสดุ, งานกำลังพล, งานคดี, งานฝึกอบรม,งานพัสดุและยานพาหนะ , งานสถิติวิจัยและแผนงาน และ งานช่างสื่อสาร
ต่อมา ก.ตร.ในการประชุม ครั้งที่ 9/2540 เมื่อ วันที่ 20 ส.ค.2540 ได้อนุมัติให้กำหนดตำแหน่ง ผู้กำกับการ ฝ่ายอำนวยการ กองตำรวจทางหลวง ขึ้น 1 ตำแหน่ง และ เพิ่มตำแหน่ง รองผู้กำกับการ ฝ่ายอำนวยการ กองตำรวจทางหลวง อีก 1 ตำแหน่ง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อแผนกในฝ่ายอำนวยการ เป็นงานในฝ่ายอำนวยการ จำนวน 9 งาน คือ งานธุรการ , งานศูนย์รวมข่าว , งานการเงินและงบประมาณ , งานกำลังพล , งานคดี ,
งานฝึกอบรม , งานพัสดุและยานพาหนะ , งานสถิติวิจัยและแผนงาน และงานช่างสื่อสาร
ซึ่งต่อมา ตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 30 มิถุนายน 2548 เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 นายกรัฐมนตรีได้ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
กองบังคับการตำรวจทางหลวง ประกอบด้วย
- ฝ่ายอำนวยการ
·กองกำกับการ 1-8 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด
- ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ การปกครองของส่วนราชการ
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และมีการออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการ หรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ขึ้นใหม่
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อ 5 ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552จึงออกประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2552 กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจ การรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติไว้ ดังต่อไปนี้
กองกำกับการ | สถานที่ตั้ง | ส.ทล.ในสังกัด |
ฝ่ายอำนวยการ
|
สถานที่ตั้ง กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | 1. งานธุรการและกำลังพล
2. งานยุทธศาสตร์ 3. งานการเงินและงบประมาณ 4. งานส่งกำลังบำรุงและพลาธิการ 5. งานคดีและกฎหมาย 6. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 7. งานศูนย์รวมข่าว
|
กองกำกับการ 1
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี (มี 6 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
§ รับผิดชอบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา – ปทุมธานี – นนทบุรี · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดสระบุรี – นครนายก · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดลพบุรี · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ § รับผิดชอบ จังหวัดนครสวรรค์ – อุทัยธานี · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ § รับผิดชอบ จังหวัดเพชรบูรณ์ – พิจิตร · สถานีตำรวจทางหลวง 6 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี § รับผิดชอบ จังหวัดสิงห์บุรี – อ่างทอง – ชัยนาท
|
กองกำกับการ 2
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (มี 6 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
§ รับผิดชอบ จังหวัดนครปฐม – สมุทรสาคร – สมุทรสงคราม · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดเพชรบุรี – ราชบุรี · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ § รับผิดชอบ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร § รับผิดชอบ จังหวัดชุมพร – ระนอง · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี § รับผิดชอบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี · สถานีตำรวจทางหลวง 6 สถานที่ตั้ง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดกาญจนบุรี – สุพรรณบุรี
|
กองกำกับการ 3
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (มี 5 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
§ รับผิดชอบ จังหวัดฉะเชิงเทรา – สมุทรปราการ · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดชลบุรี · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง § รับผิดชอบ จังหวัดระยอง · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดจันทบุรี – ตราด · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี § รับผิดชอบ จังหวัดปราจีนบุรี – สระแก้ว
|
กองกำกับการ 4
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (มี 5 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
§ รับผิดชอบ จังหวัดร้อยเอ็ด – กาฬสินธุ์ – มหาสารคาม · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น § รับผิดชอบ จังหวัดขอนแก่น · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี § รับผิดชอบ จังหวัดอุดรธานี – หนองคาย · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย § รับผิดชอบ จังหวัดเลย – หนองบัวลำภู · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร § รับผิดชอบ จังหวัดสกลนคร – นครพนม
|
กองกำกับการ 5
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (มี 6 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดตาก
§ รับผิดชอบ จังหวัดตาก – กำแพงเพชร · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง § รับผิดชอบ จังหวัดลำปาง – ลำพูน · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก § รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก – สุโขทัย · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ § รับผิดชอบ จังหวัดเชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา § รับผิดชอบ จังหวัดพะเยา – เชียงราย · สถานีตำรวจทางหลวง 6 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ § รับผิดชอบ จังหวัดแพร่ – อุตรดิตถ์ – น่าน
|
กองกำกับการ 6
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (มี 6 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
§ รับผิดชอบ จังหวัดนครราชสีมา · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ § รับผิดชอบ จังหวัดบุรีรัมย์ · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ § รับผิดชอบ จังหวัดสุรินทร์ · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี § รับผิดชอบ จังหวัดอุบลราชธานี – ศรีษะเกษ · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ § รับผิดชอบ จังหวัดอำนาจเจริญ – มุกดาหาร – ยโสธร · สถานีตำรวจทางหลวง 6 สถานที่ตั้ง อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ § รับผิดชอบ จังหวัดชัยภูมิ
|
กองกำกับการ 7
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (มี 5 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
§ รับผิดชอบ จังหวัดพังงา – ภูเก็ต – กระบี่ · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง § รับผิดชอบ จังหวัดตรัง – พัทลุง · สถานีตำรวจทางหลวง 3 สถานที่ตั้ง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา § รับผิดชอบ จังหวัดสงขลา – สตูล · สถานีตำรวจทางหลวง 4 สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช § รับผิดชอบ จังหวัดนครศรีธรรมราช · สถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานที่ตั้ง อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี § รับผิดชอบ จังหวัดปัตตานี – นราธิวาส – ยะลา
|
กองกำกับการ 8
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง |
สถานที่ตั้ง
เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร (มี 2 สถานี) |
· สถานีตำรวจทางหลวง 1 สถานที่ตั้ง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
§ รับผิดชอบ ในเขตทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 · สถานีตำรวจทางหลวง 2 สถานที่ตั้ง เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร § รับผิดชอบ ในเขตทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9
|
กลุ่มงาน
ถวายความปลอดภัย |
สถานที่ตั้ง
กองบังคับการ ตำรวจทางหลวง ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |